วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเพณีอาซูรอ

ประเพณีอาซูรอ

www.oknation.net
ความหมาย คำจำกัดความ คำนิยาม
คำว่า อาซูรอ มีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การผสมหรือรวมกัน หมายถึงการนำสิ่งต่างๆหลายอย่ามารวมกันเป็นหนึ่งเดียว

ความเป็นมา
ความเป็นมาของการกวนข้าวอาซูรอ หรือกวนขนมอาซูรอสืบเนื่องจากได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในสมัยนบีนุฮ (อล) ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ไร่นาของประชาชนและสาวกของนบีนุฮ (อล) และคนทั่วไปอดอาหาร นบีนุฮ (อล) จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของเหลือพอจะรับประทานได้ ให้เอามากองรวมกัน และให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกัน เพื่อให้ทุกคนได้รับประทานอาหารกันโดยทั่วหน้า
ความสำคัญ
การกวนข้าวอาซูรอ (ขนมอาซูรอ) เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำว่า อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน มีทั้งชนิดคาวและหวาน การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข ก่อนจะแจกจ่ายให้รับประทานกัน เจ้าภาพจะเชิญบุคคลที่นับถือของชุมชนขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา) ก่อน จึงจะแจกให้คนทั่วไปรับประทานกัน
พิธีกรรม
การกวนข้าวอาซูรอเริ่มด้วยการที่เจ้าภาพประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ชาวบ้านทราบว่าจะมีการกวนข้าวอาซูรอกันที่ไหน เมื่อใด เมื่อถึงกำหนดนัดหมายชาวบ้านก็จะนำอาหารดิบ เช่น เผือกมัน ฟักทอง มะละกอ กล้วย ข้าวสาร ถั่ว เป็นต้น มารวมเข้าด้วยกันแล้วปอกหั่น ตัดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จากนั้นนำเครื่องปรุง เช่น ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ผักชี ยี่หร่า เกลือ น้ำตาล กะทิ เป็นต้น มาเป็นเครื่องผสมโดยหั่นตัดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เช่นเดียวกัน สำหรับกะทิจะคั้นเฉพาะน้ำมาผสม
วิธีกวน นำกะทะใบใหญ่ตั้งไฟ มีไม้พายสำหรับคนขนมอาซูรอ หลังจากตั้งกะทะบนเตา คั้นน้ำกะทิใส่ลงไป ตำหรือบดเครื่องแกงหยาบ ๆ ใส่ลงในน้ำกะทิ เมื่อกะทิเดือดใส่อาหารดิบต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว คนด้วยไม้พายจนกระทั่งทุกอย่างเปื่อยยุ่ย กวนต่อไปจนเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อแห้งได้ที่แล้วตักใส่ถาด โรยหน้าด้วยไข่เจียวหั่นบาง ๆ หรืออาจโรยหน้ากุ้ง เนื้อสมัน ปลาสมัน ผักชี หอมหั่นฝอย แล้วแต่รสนิยมของท้องถิ่น แล้วตัดเป็นชิ้น ๆ แจกจ่ายกันรับประทาน


ประเภทและลักษณะ
ประเภทจะเป็นประเพณีและพิธีกรรม ลักษณะของขนมอาซูรอจะมีสีน้ำตาล สีนำเงินอัญชัน และสีดำและมีพื้นผิวด้านนอกที่ค่อนข้างขรุขระแต่ข้างในอร่อย

ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง

เทศกาลดังกล่าวนี้เป็นเทศกาลอาซูรออ์ของชาวซีอะหฺที่ไว้อาลัยต่อการเสียชีวิตของอิหม่าม เช่น ชาวตุรกีเรียกขนมที่ทำในเทศกาลนี้ว่า Asure หรือพุดดิ้งของโนอาห์ ซึ่งจะประกอบด้วยธัญพืช ผลไม้และถั่ว ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นขนมที่ครอบครัวของโนอาร์ทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการที่พวกเขามาถึงภูเขาอารารัต ชาวตุรกีทำขนมนี้ในวันอาซูรออ์ เพื่อรำลึกถึงการสิ้นสุดของสงครามที่คันบาลา


วัสดุที่ใช้ มะพร้าว ต้องคั้นจนเป็นน้ำกะทิก่อน หัวมัน ข้าวโพด หัวปลี กล้วย ถั่ว เผือกมัน ฟักทอง มะละกอ หอม/กระเทียม ข่า ตะไคร้ ผักชี ยี่หร่า ข้าวสาร เนื้อสัตว์ น้ำตาลทราย เกลือ เครื่องเทศ



อุปกรณ์ กระทะ ไม้พาย เตา ไม้ฟืน ถาด เครื่องปั้น

ขั้นตอน/วิธีทำ

1.เริ่มจากการเตรียมวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้นำมาทำความสะอาด
2.จากนั้นก็ตั้งกระทะใบใหญ่ตั้งไฟมีไม้พายสำหรับคนขนมอาซูรอ หลังจากตั้งกระทะบนเตา ซึ่งกระทะทำด้วยถังน้ำมันเนื่องจากมีความกว้างและสูง สามารถให้ไฟได้อย่างเต็มที่
3.คั้นน้ำกะทิใส่ลงไป ตำหรือบดเครื่องแกงหยาบๆใส่ลงในน้ำกะทิ เมื่อกะทิเดือดแล้วใส่ข้าวสาร ต้องทำการกวนอยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ข้าวสารจับตัว
4.เมื่อข้าวสารแตกตัวและเข้ากับน้ำแล้ว ก็ใส่วัตถุดิบอื่นๆ ตามไปด้วย อาทิ หัวมัน ข้าวโพด หัวปลี กล้วย ถั่ว เผือกมัน ฟักทอง เครื่องเทศ เครื่องชูรส ฯลฯ
5.คนด้วยไม้พายจนกระทั่งทุกอย่างเปื่อยยุ่ย กวนจนเป็นเนื้อเดียวกันเมื่อแห้งได้ที่แล้วก็ตัดใส่ถาดโรยด้วยหน้ากุ้ง เนื้อสัตว์ ปลา ผักชี หอมหั่นฝอยแล้วแต่รสนิยมของท้องถิ่น แล้วตัดเป็นชิ้นๆแจกจ่ายกันรับประทาน
6.สุมไฟให้แรงอยู่ตลอดเวลาและกวนอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อวัตถุดิบที่ใส่หลวมหรือละเลยจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ก็ชิมและแต่งรสชาติตามที่ต้องการ จากนั้นยกกระทงลงจากเตาเพื่อรอให้อาซูรอแข็งตัว เพื่อรับประทานต่อไป

ประโยชน์ของภูมิปัญญา
1.ใช้เป็นอาหารเหมาะกับการจัดงานต่างๆแต่ขนมอาซูรอจะนิยมทำในเดือนมูฮัรรอมทางศาสนาอิสลาม
2.เหมาะกับการจัดงานที่ใหญ่โต เพราะขนมอาซูรอจะทำแต่ละครั้งต้องอาศัยผู้คนมากๆ ทำครั้งเดียวแต่รับประทานกันหลายคน
3.จากการจัดกิจกรรมนี้(ขนมอาซูรอ)ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านเกิดความสมัครสมานสามัคคีขึ้น

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก:





ประเพณีชิงเปรต

ประเพณีชิงเปรต





ประวัติความเป็นมา

          

       คำว่า เปรต ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้คำจำกัดความว่า สัตว์พวกหนึ่งเกิดใน อบายภูมิคือ แดนทุกข์ ผีเลวจำพวก หนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่างสูงโย่ง เยงเท่าต้นตาล ผมยาวหงอกย้อย คอยาว ผอมโซ มีปากเท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้องเสียงดังวี้ด ๆ ในเวลาตอนกลางคืน”   แต่สำหรับชาวใต้ เปรต มีความหมายว่า ผู้ล่วงลับไปแล้วมีพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้อง เป็นต้น ที่อาจจะมีบาปมากต้องตกนรก ญาติเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้มีกรรม แต่ทุกปีในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 พญายมจะปล่อยให้ขึ้นมาพบลูกหลานได้ และกำหนดวันให้กลับไปนรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 รวมแล้วมีเวลาอยู่ในโลกมนุษย์ได้ราว 15 วัน

          ศูนย์กลางการจัดงานบุญเดือนสิบที่มีชื่อเสียงและยิ่งใหญ่ คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นอาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองด้าน พุทธศาสนา และ ศาสนาพราหมณ์ มาก่อน จนเป็นที่สันนิษฐานว่า งานบุญเดือนสิบอาจได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดียที่แพร่หลายในสมัยนั้น

          ประเพณีทำบุญเดือนสิบ มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปหลายชื่อตามวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ตามความเชื่อและตามลักษณะของการจัดงาน เช่น

          1. เรียกตามชื่อเดือนที่จัดงาน เรียกว่า "ประเพณีทำบุญเดือนสิบ"

          2. เรียกชื่อตามประเพณี "สารท" ของอินเดียที่เรารับเอาวัฒนะธรรมนี้มา คำว่า "สารท" เป็นภาษาบาลีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายว่า "เกี่ยวกับหรือเกิดในฤดูใบไม้ร่วง, เทศกาลทำบุญสิ้นเดือนสิบ" ในอินเดีย คำว่า "สารท" หมายถึง ฤดูใบไม้ร่วง เป็นฤดูกาลที่พืชพันธุ์ธัญญาหารกำลังผลิดอกออกผล ชาวอินเดียจะเก็บเกี่ยวไปทำขนมเซ่นพลีบูชาผีปู่ย่าตายาย และเทพเจ้าที่ตนนับถือ เพื่อตอบแทนพระคุณที่บันดาลให้มีพืชพันธุ์ธัญญาหาร บางแห่งบางท้องถิ่นเรียกงานนี้ว่า "ประเพณีทำบุญวันสารท" หรือ "ประเพณีทำบุญสารทเดือนสิบ"

          3. เรียกตามชื่อตามขั้นตอนและลักษณะสำคัญของงานประเพณี เช่น "ประเพณียกหมรับ" หรือ "ประเพณีชิงเปรต"

          4. เรียกชื่อตามความมุ่งหมายหลักของประเพณี เพราะประเพณีการทำบุญนี้มีความมุ่งหมายหลักอยู่ที่ การทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ ปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว บางท้องถิ่นจึงเรียกประเพณีนี้ว่า "ประเพณีทำบุญตายาย" หรือ "ประเพณีรับส่งตายาย" 


ความสำคัญ

"ชิงเปรต" เป็นประเพณีของภาคใต้ที่กระทำกันในวันสารท เดือน ๑๐ เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในสารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า การชิงเปรตที่ปฏิบัติกันในประเพณีสารทเดือน ๑๐ นี้ มีลักษณะคล้ายกับการทิ้งกระจาดของจีน แต่การทิ้งกระจาดของจีนมีเป้าหมายตรงกับการตั้งเปรต-ชิงเปรตเพียงบางส่วน เท่านั้น กล่าวคือการทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานให้แก่พวกผีไม่มีญาติ ส่วนการชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี(เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย นอกจากนี้วิธีการปฏิบัติในการทิ้งกระจาดและการชิงเปรตก็แตกต่างกันด้วย

ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรต แต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการทำบุญด้วยซ้ำไป เพราะชื่อว่าบุตรหลานของเปรตตนใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนนั้น เพียงแต่ว่าผู้ชิงต้องระมัดระวังในการที่อาหารหรือขนมที่ตั้งเปรตอาจตกหลาน ลงพื้น ซึ่งจะทำให้เกิดความสกปรกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น


พิธีกรรม

           
           การตั้งเปรต และชิงเปรตจะกระทำกันในวันที่ยกหมรับไปวัด ไม่ว่าจะเป็นวันแรม ๑ ค่ำ หรือ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ ก็ตาม ผู้ตั้งเปรตจะนำอาหารอีกส่วนหนึ่งไปเพื่อการตั้งเปรตด้วย อาหารที่ใช้ตั้งเปรตนี้ส่วนมากเป็นอาหารที่บรรพบุรุษที่เป็นเปรตชอบอย่างละ นิดอย่างละหน่อย ขนมที่ไม่ขาดคือ ขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า ขนมเบซำ(ดีซำ) นอกจากขนมดังกล่าวแล้ว ยังมีของแห้งที่ใช้เป็นเสบียงกรังก็จัดฝากไปด้วย เช่น ข้าวสาร หอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล น้ำปลา กล้วย อ้อย มะพร้าว ด้าย เข็มเย็บผ้า ธูปเทียน นำลงจัดในหมรับ โดยเอาของแห้งรองก้นและอยู่

ภายใน ส่วนขนมทั้งหลายอยู่ชั้นนอก ปิดคลุมด้วยผืนลาทำเป็นรูปเจดีย์ยอดแหลม หรือรูปอื่นแล้วแต่การประดิษฐ์ของผู้จัด ส่วนภาชนะที่ใช้ แต่เดิมนิยมใช้กระเชอหรือถาด นำหมรับ

ที่จัดแล้วไปวัด รวมกันตั้งไว้บน "ร้านเปรต" ซึ่งสร้างไว้กลางวัดยกเสาสูง ต่อมาในระยะหลัง ๆ ร้านเปรตทำเป็นศาลา หลังคามุงจากหรือมุงกระเบื้องแล้วแต่ฐานะของวัด บางถิ่นจึงเรียก "หลาเปรต" บนร้านเปรตจะมีสายสิญจน์วงล้อมไว้รอบและต่อยาวไปจนถึงพระสงฆ์ที่นั่งอยู่ใน วิหารที่เป็นที่ทำพิธีกรรม โดยสวดบังสุกุลอัฐิหรือกระดาษเขียนชื่อของผู้ตาย ซึ่งบุตรหลายนำมารวมกันในพิธีต่อหน้าพระสงฆ์ บุตรหลานจะกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญไปยังเปรตชนที่เป็นบรรพบุรุษ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว เก็บสายสิญจน์ ขนมต่าง ๆ จะถูกแบ่งออกส่วนหนึ่ง พร้อมกับของแห้งไว้ถวายพระ อีกส่วนหนึ่งให้เปรตชนที่พอมีกำลังเข้ามาเสพได้ ในขณะเดียวกันผู้ที่มาร่วมทำบุญทั้งหนุ่มสาว เฒ่าแก่ และโดยเฉพาะเด็ก ๆ จะเข้าไปรุมกันแย่งขนมที่ตั้งเปรตด้วยความสนุกสนาน เชื่อกันว่า การแย่งขนมเปรตที่ผ่าการทำพิธีแล้วนี้จะได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว และยังเชื่อกันต่อไปว่าขนมเหล่านี้ถ้านำไปหว่านในสวนในนา จะทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์เพิ่มผลผลิตสูง โดยเฉพาะขนมเทียน บางแห่งนำไปติดไว้ตามต้นไม้ผลเพื่อให้มีผลดก หลังจากนั้น ก็มักมีผู้ใจบุญโปรยทาน โดยใช้เหรียญสตางค์โดยไปที่ละมากเหรียญ ตรงไปยังฝูงชน ที่เรียกว่า "หว่านกำพรึก" แย่งกันอย่างสนุกสนาน


สาระ

         การทำบุญวันสารท เดือน ๑๐ กำหนดทำ ๒ ครั้ง คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ โดยเชื่อว่า วันแรม ๑ ค่ำ เป็นวันที่ยมบาลปล่อยให้เปรต หรือเปตชนขึ้นมาเยี่ยมลูกหลาน ๆ ก็จะทำบุญเลี้ยงต้อนรับ เมื่อถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ ก็ถือว่าเป็นวันที่ปู่ย่าตายาย ต้องกลับยมโลก ลูกหลานก็ทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง
การเตรียมข้าวของ ขนม ในวันทำบุญ เดือน ๑๐
๑. ลา มีความหมายใช้แทนเสื้อผ้า
๒. พอง มีความหมายว่าเป็นเครื่องประดับ
๓. ขนมเบซำ (ขนมเจาะหู) ใช้แทนเงิน หรือสตางค์มีรูในสมัยก่อน
๔. ขนมบ้า มีความหมายว่า เงินเหรียญ
๕. ขนมเทียน ใช้แทนหมอนหนุน
การชิงเปรต เป็นประเพณีที่ชาวพัทลุงถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณ เป็นประเพณีสำคัญที่กระทำกันจนทุกวันนี้ ชาวพัทลุงแม้จะไปทำมาหากินในท้องถิ่นอื่น เมื่อถึงเดือน ๑๐ ก็มักจะกลับมาร่วมพิธีกับญาติทางบ้าน นับเป็นการช่วยเสริมการผูกพันระหว่างครอบครัวและญาติพี่น้อง ทั้งยังเป็นการระลึกถึงบุญคุณ และคุณงามความดีของบรรพบุรุษของตน แม้จะล่วงลับไปแล้วก็ตาม


การตั้งเปรตและการชิงเปรต

            เสร็จจากการฉลองหมฺรับและถวายภัตตาหารแล้วก็นิยมนำขนมอีกส่วนหนึ่งไปวางไว้ตามบริเวณวัด โคนไม้ใหญ่ หรือกำแพงวัด เรียกว่า     " ตั้งเปรต" เป็นการแผ่ส่วนกุศลให้เป็นสาธารณะทานแก่ผู้ล่วงลับที่ไม่มีญาติหรือญาติได้มาร่วมทำบุญได้

บางวัดนิยมสร้างร้านขึ้นเพื่อสะดวกแก่ตั้งเปรต เรียกว่า " หลาเปรต" (ศาลาเปรต) เมื่อตั้งขนม ผลไม้ และและเงินทำบุญเสร็จแล้วก็จะนำสายสิญจน์ที่ได้บังสุกุลแล้วมาผูกเพื่อแผ่ส่วนกุศลด้วย เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์ก็จะเก็บสายสิญจน์     

การชิงเปรตจะเริ่มหลังจากตั้งเปรตเสร็จแล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่เรียกว่า "ชิงเปรต" ทั้งผู้ใหญ่และเด็กจะวิ่งกันเข้าไปแย่งขนมกันอย่างคึกคัก เพราะความเชื่อว่าของที่เหลือจากการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ถ้าใครได้ไปกินก็จะได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว     

วัดบางแห่งสร้างหลาเปรตไว้สูง โดยมีเสาเพียงเสาเดียว เสานี้เกลาจนลื่นและชะโลมด้วยน้ำมัน เมื่อถึงเวลาชิงเปรต เด็กๆ แย่งกันปีนขึ้นไป หลายคนตกลงมาเพราะเสาลื่น และอาจถูกคนอื่นดึงขาพลัดตกลงมา กว่าจะมีผู้ชนะการปีนไปถึงหลาเปรต ก็ต้องใช้ความพยายามอย่างมากจึงมีทั้งความสนุกสนาน และความและความตื่นเต้น

            ในการทำบุญสารทเดือนสิบลูกหลานจะทำขนม หรืออาหารนำไปวางในที่ต่างๆของวัดตั้งที่ศาลาซึ่งเป็นศาลาสำหรับเปรตทั่วไป และริมกำแพงวัด  หรือใต้ต้นไม้  สำหรับเปรตที่ปราศจากญาติ  หรือญาติไม่ได้ทำบุญอุทิศให้ รือมีกรรมไม่สามารถเข้าในวัดได้ พิธีกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลทำได้โดยการแผ่ส่วนกุศล และกรวดน้ำอุทิศให้  เมื่อเสร็จลูกหลานจะมีการแย่งชิงขนม  และอาหารกันที่เรียกว่า  ชิงเปรต

             การชิงเปรต  เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากการอุทิศส่วนกุศลแก่เปรต  โดยมีพระสงฆ์สวดบังสุกุล พอพระชักสายสิญจน์ที่พาดโยงไปยังอาหารที่ตั้งเปรต ลูกหลานก็จะเข้าไปแย่งเอามากิน  ซึ่งของที่แย่งมาได้ถือเป็นของเดนชาน  การได้กินเดนชานจากวิญญาณบรรพบุรุษ เป็นความเชื่อที่ถือกันว่าเป็นการแสดงความรัก เป็นสิริมงคล และเป็นกุศลสำหรับลูกหลาน



 ขอขอบคุณข้อมูลจาก: